วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1. ทฤษฏีโน้ตดนตรีสากล

     เนื้อหาในส่วนนี้จะช่วยให้คุณได้รู้จักกับโน๊ตดนตรี ความหมาย การอ่าน รวมทั้งโน๊ตดนตรีที่อยู่บนฟิงเกอร์บอร์ดกีตารืว่ามีโน๊ตอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง
            บางคนอาจจะเบื่อเพราะคิดว่าไม่เห็นจำเป็นแค่จับคอร์ดก็เล่นกีตาร์ได้แล้วก็ใช่ครับ แต่การที่เราจะเข้าการเล่นกีตาร์ให้ลึกซึ้งลงไปมากกว่าแค่นั่งตีคอร์ดมีความจำเป็นมากครับอย่างน้อยก็ต้องพอรู้ในเบื้องต้นจะใช้ให้เข้าใจอะไรได้มากขึ้น และยิ่งถ้าคุณจะศึกษาการเล่นกีตาร์ในระดับที่ยากขึ้นคุณหนีไม่พ้นแน่นอนครับกับเรื่องทฤษฎีดนตรี
           ผมอยากจะบอกว่าทฤษฎีนั้นมีความสำคัญเหมือนกันถึงผมอาจจะไม่รู้มากนัก แต่ก็คิดว่าเพียงพอสำหรับการฝึกในระดับเบื้องต้น ซึ่งมันสามารถช่วยให้ผมเล่นกีตาร์และเข้าใจมันได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการแกะเพลงหรือสร้างสรรค์ผลงานเองได้ด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะได้ศึกษาเอาไว้บ้าง รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะครับ เพราะถ้าเล่นเป็นอย่างเดียวโดยที่ไม่สนใจทฤษฎีเลยนั้นอาจจะมีปัญหาในการฝึกขั้นสูงต่อไป เอาล่ะครับเรามาดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า


 ดังที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วว่าขนาดของสายและการกำหนดความสั้นยาวของสายโดยกดสายแต่ละเส้นที่แต่ละเฟร็ตนั้นจะทำให้ได้ระดับเสียงที่ต่างกันไป ซึ่งหมายถึงทุก ๆ ช่องบนคอกีตาร์จะมีระดับเสียงหรือโน็ตประจำอยู่นั่นเองแต่ก่อนอื่นผมขอแนะนำให้รู้จักโน็ตดนตรีเบื้องต้นกันก่อน
          รู้จักโน๊ตดนตรีกันนิดนึงnotestaffSmWHT.gif (4627 bytes)
            โน็ตดนตรีคือเครื่องหมายที่แทนค่าเสียงดนตรีนั่นเองเพื่อให้มีความเป็นสากลในการบันทึกเช่นการเขียนหนังสือให้คนอ่านหนังสืออ่านอ่าน แต่โน็ตใช้บันทึกดนตรีให้นักดนตรีเล่น เราจะแบ่งพิจารณาใน 2 ลักษณะคือ
            - ระดับเสียงสูงต่ำของโน๊ตดังกล่าว โดยสามารถทราบจากระบบ "บรรทัด 5 เส้น" (staff)
            - ระยะความสั้นยาวของเสียงดังกล่าวหรือเรียกว่าจังหวะ โดยจะทราบจากลักษณะของตัวโน๊ต เช่น โน๊ตตัวกลม ตัวดำ เป็นต้น
บรรทัด 5 เส้น (Staff)
            เกิดจากเส้นตรง 5 เส้น ขีดซ้อนกันในแนวดิ่ง ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงระดับเสียงของดนตรีหรือตัวโน๊ตนั้นว่าเป็นเสียงอะไร โดยที่แต่ละเส้นและช่องระหว่างเส้นทั้ง 5 นั้นจะมีค่าเสียงที่ต่างกันจากเสียงต่ำไปหาสูงถ้าไล่จากเส้นล่างไปหาเส้นบน และจะกำหนดค่าของเสียงด้วยกุญแจ (Key Signature) สำหรับกีตาร์จะเป็นกุญแจซอล (treble clef หรือ G-clef) ซึ่งกำหนดให้เส้นที่ 2 จากล่างมีค่าเป็นเสียงซอล ดังนั้นจะได้เสียงประจำเส้นและช่องต่าง ๆ ของ staff ดังนี้
stave.gif (3228 bytes)
            โดยที่ระดับเสียงต่ำจะอยู่ด้านล่างของ staff และเมื่อระดับเสียงนั้นสูง หรือต่ำเกินกว่าในบรรทัด 5 เส้นปกติ ก็จะเขียนเส้นขนานเล็ก ๆ ที่ด้านบนเพื่อบันทึกโน๊ตเมื่อระดับเสียงสูงกว่าในบรรทัด 5 เส้นปกติ และในทางตรงกันข้ามถ้าระดับเสียงต่ำกว่าปกติก็จะเขียนเส้นดังกล่าวขนานกับบรรทัด 5 เส้นด้านล่าง ซึ่งเส้นดังกล่าวนี้เรียกว่า"เส้นน้อย" (Leger Line)
            สำหรับระดับเสียงของดนตรีสากลนั้นมี 7 เสียง แทนด้วยตัวอักษร 7 ตัวแรกของภาษาอังกฤษคือ A, B, C, D, E, F และ G แต่ในการอ่านจะเริ่มจาก C และอ่าน C = โด , D = เร, E = มี, F = ฟา, G = ซอล,   A = ลา, B = ที จากนั้นก็จะวนกลับไปที่ C (โด) แต่จะมีระดับเสียงที่สูงกว่า C ตัวแรก (เรียกว่าเสียงสูงกว่า 1 อ๊อกเท็ป [Octave] ซึ่งจะกล่าวต่อไป)
            ในขั้นแรกขอให้เพื่อน ๆ จำให้ได้ก่อนนะครับว่าเสียงอะไรแทนด้วยสัญลักษณ์อะไรซึ่งมีความสำคัญมากในการศึกษาขั้นต่อไป และผมจะแทนเสียงต่าง ๆ นั้นด้วยตัวอักษรในการอธิบายต่อไป
การกำหนดค่าความสั้นยาวของเสียง
            นอกจากระดับเสียงแล้วเราต้องกำหนดความสั้นยาวของเสียงโดยการใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีอันได้แก่
โน๊ตตัวกลมwpe36.jpg (778 bytes)
โน๊ตตัวขาวwpe37.jpg (810 bytes)
โน๊ตตัวดำwpe38.jpg (800 bytes)
โน๊ตเขบ็ต 1 ชั้นwpe3C.jpg (839 bytes)หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน wpe3.jpg (973 bytes)
โน๊ตเขบ็ต 2 ชั้นwpe3D.jpg (861 bytes)หรือเมื่อมี 2 ตัวติดกันจะเขียน wpe4.jpg (997 bytes)
            และอาจจะมีถึงโน๊ตเขบ็ต 3 หรือ 4 ชั้นก็ได้ และอาจจะเขียนตัวโน๊ตกลับหัวก็ได้ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมในการเขียน นอกจากสัญลักษณ์ที่บอกความสั้นยาวของเสียงที่เล่นออกมาแล้ว ยังมีสัญลักษณ์ที่บอกถึงความสั้นยาวของเสียงที่ไม่ได้เล่น หรือ กำหนดความสั้นยาวของการหยุดเสียงซึ่งเรียกว่า "ตัวหยุด" โดยจะแบ่งเหมือนประเภทแรกแต่ความหมายตรงกันข้ามคือประเภทแรกบอกความสั้นยาวในการเล่นเสียงออกมา แต่ตัวหยุดจะบอกความสั้นยาวของการหยุดเสียงโดยใช้สัญลักษณ์ดังนี้
ตัวหยุดเทียบเท่าโน๊ตตัวกลม
wpe3F.jpg (695 bytes)
ตัวหยุดเทียบเท่าโน๊ตตัวขาวwpe40.jpg (705 bytes)
ตัวหยุดเทียบเท่าโน๊ตตัวดำwpe41.jpg (804 bytes)
ตัวหยุดเทียบเท่าโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้นwpe42.jpg (732 bytes)
ตัวหยุดเทียบเท่าโน๊ตเขบ็ต 2 ชั้นwpe43.jpg (769 bytes)

การแบ่งห้องทางดนตรี (Measure)
            ในการบันทึกโน๊ตดนตรีจะต้องแบ่ง staff ออกเป็นส่วน ๆ เท่า ๆ กันด้วยเส้นกั้นแต่ละห้องในแนวดิ่งที่เรียกว่า bar line โดยที่ผลรวมของจังหวะทั้งหมดในแต่ละห้องต้องมีความยาวหรือจังหวะเท่ากัน และ 1 ห้อง จะเรียกว่า 1 bar
Time Signature
            ตอนนี้เราทราบระดับเสียงของโน๊ตจาก staff (C, D, E ฯลฯ) ทราบความสั้นยาวของโน๊ตจากลักษณะของตัวโน๊ต (ตัวดำ,ตัวขาว ฯลฯ) คราวนี้เราจะมารู้จักตัวที่กำหนดจังหวะให้ตัวโน๊ต โดยที่เมื่อกี้เรารู้เพียงอัตราส่วนของตัวโน๊ตเท่านั้นเช่น ตัวขาวมีความยาวเป็น 1/2 ของตัวกลม แต่เป็น 2 เท่าของตัวดำ แต่เรายังไม่รู้ว่าไอ้ความยาวเสียงนั้นมันยาวเท่าไหนถึงเรียกว่าครบ 1 จังหวะ ซึ่งสิ่งที่จะกำหนดให้เราทราบค่าดังกล่าวจาก Time Signature โดยจะเขียนเป็นตัวเลขเศษส่วนกัน เช่น
xy.gif (1818 bytes)
            เรามาดูความหมายของตัวเลขต่าง ๆ กันนะครับ
            - ตัวเลขตัวบน หมายถึง จำนวนจังหวะใน 1 ห้อง(1 bar) ว่าใน 1 ห้องดังกล่าวนั้นมีกี่จังหวะนับ เช่น 2 หมายถึงในห้องนั้นมี 2 จังหวะนับ ถ้า 3 คือ มี 3 จังหวะนับใน 1 ห้อง
            - ตัวเลขตัวล่าง หมายถึง การกำหนดว่าจะให้สัญลักษณ์โน๊ตประเภทใดมีค่าเป็น 1 จังหวะ เช่นเลข 4 จะหมายถึงให้โน๊ตตัวดำ (quarter note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ และมีผลให้โน๊ตตัวขาว (half note)มีค่าเป็น 2 จังหวะนับ โน๊ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ และโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น (eighth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น
                หรือถ้าเป็น 8 หมายถึงให้โน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น (eighth note) มีค่าเป็น 1 จังหวะ โน๊ตตัวดำ (quarter note) มีค่าเป็น 2 จังหวะ และมีผลให้โน๊ตตัวขาว (half note)มีค่าเป็น 4 จังหวะนับ โน๊ตตัวกลม whole note) มีค่าเป็น 8 จังหวะนับ และโน๊ตเขบ็ต 2 ชั้น (sixteenth note) มีค่า 1/2 จังหวะนับ เป็นต้น และลองมาดูตัวอย่าง time  signature ที่พบเห็นบ่อย ๆ กันนะครับ
2ให้โน๊ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 2 จังหวะใน 1 ห้อง
4
3ให้โน๊ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 3 จังหวะใน 1 ห้อง
4
4ให้โน๊ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 4 จังหวะใน 1 ห้อง
4
6ให้โน๊ตเขบ็ต 1 ชั้นมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 6 จังหวะใน 1 ห้อง
8
12ให้โน๊ตเขบ็ต 1 ชั้นมีค่าเป็น 1 จังหวะ และมี 12 จังหวะใน 1 ห้อง
8
โน๊ตประจุด (Dotted Note)
            ในบางกรณีทีเราต้องการให้ค่าตัวโน๊ตนั้นมีจังหวะยาวขึ้นมาอีก ครึ่งหนึ่งของตัวมันเอง เราจะใช้จุด (dot) แทนค่าให้เพิ่มจังหวะอีกครึ่งนึงของตัวเองโดยเขียนจุดไว้ด้านข้างของตัวโน๊ตที่ต้องการเพิ่มจังหวะ เช่นเมื่อต้องการสร้างโน๊ต 3 จังหวะจากโน๊ตตัวขาวที่มีค่า 2 จังหวะ(กรณีที่ time signature เป็น 4/4 โน๊ตตัวขาวมีค่า 2 จังหวะ)เราก็ประจุดโน๊ตตัวขาวซึ่งมีผลให้มีจังหวะเพิ่มขึ้นครึ่งนึงของ 2 คือ 1รวมเป็น 3 จังหวะ หรือเท่ากับโน๊ตตัวดำ 3 ตัว
            หรือเมื่อให้โน๊ตตัวดำ(มีความยาว 1 จังหวะ)ประจุดก็จะหมายถึงจังหวะจะเพิ่มขึ้นอีกครึ่งนึงของ 1 คือ 1/2 รวมเป็น 1 1/2 หรือ 1จังหวะครึ่งนั่นเองซึ่งมีค่าเท่ากับโน๊ตเขบ็ต 1 ชั้น 3 ตัว ลองดูจากการเปรียบเทียบข่างล่างนี้
  tie1.gif (1374 bytes)
   tie2.gif (1460 bytes)
Tied Note
            สำหรับโน๊ตประจุดนั้นจะใช้เพิ่มจังหวะที่อยู่ในห้องเดียวกัน แต่เมื่อต้องการให้จังหวะของโน๊ตตัวนั้นยาวข้ามไปยังอีกห้องหรืออีก bar นึงนั้นเราจะใช้สัญลักษณ์ tie หรือเส้นโยงโน๊ตข้ามไปอีกห้องโดยที่โน๊ตตัวที่อยู่ทางท้ายเส้นโยงนั้นไม่ต้องเล่น แต่เล่นที่ตัวทางหัวเส้นโยงแล้วนับจังหวะรวมไปถึงตัวที่อยู่ท้ายเส้น (ดูจากรูปนะครับแล้วลองฝึกนับในใจดู โดยอาจเคาะมือหรือเท้าเป็นจังหวะนับก็ได้) อย่างไรก็ตาม tied note สามารถใช้ร่วมในห้องเดียวกันก็ได้ความหมายก็เช่นเดียวกันคือเล่นโน๊ตตัวแรกแล้วนับจังหวะรวมกับโน๊ตที่อยู่ท้ายเส้นโยง
tie.gif (2327 bytes)
    หมายเหตุ ตัว C ที่เห็นอยู่ต่อจากกุญแจซอลนั้นหมายถึง time signature 4/4 ในการเขียนโน็ตมักแทนด้วย C
            จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นมี 2 จุดที่มี tied โน๊ต จุดที่ 1ในห้องแรก โน๊ตตัว D เป็นโน๊ตตัวดำมีเส้นโยงไปยังโน๊ต D ที่เป็นโน๊ตตัวตำอีกตัว ในเชิงปฏิบัติคุณจะดีดโน๊ตตัวขาวตัวแรกเสียง B นับ 2 จังหวะ จากนั้นดีดโน๊ตตัวที่สองคือตัวดำตัวแรกแต่เราจะนับจังหวะรวมกับตัวดำตัวที่สอง(เนื่องมาจากเส้นโยง)แล้วนับรวมเป็น 2 จังหวะดังนั้นในห้องแรกคุณจะเล่นโน๊ตแค่ 2 ตัวคือโน๊ต B ตัวขาว และโน๊ต D ตัวดำนับ 2 จังหวะเช่นกัน
            และที่จุดที่สองเป็นการโยงข้ามห้องจากห้องที่สองโน๊ต C ตัวดำไปยังห้องที่สามโน๊ต C ตัวขาว หลักการปฏิบัติเช่นเดียวกับแบบแรกคือเล่นโน๊ต C ตัวดำแต่นับจังหวะรวมโน๊ตตัวขาวไปด้วยดังนั้นรวมจังหวะในการเล่นโน๊ต C ตัวนี้เป็น 3 จังหวะ(ตัวดำ 1 จังหวะ + ตัวขาว 2 จังหวะ = 3 จังหวะ)
            ข้อสังเกตอย่างนึงคือการใช้ tied note มักจะเป็นโน๊ตตัวเดียวกัน ถ้าเกิดเป็นโน๊ตคนละตัวจะไม่ใช่ tied note แต่อาจจะเป็นโน๊ตแฮมเมอร์ ออนถ้าตัวท้ายเส้นโยงมีระดับเสียงสูงกว่าตัวหน้า และอาจจะเป็นพูล ออฟ ถ้าโน๊ตตัวท้ายเส้นโยงเสียงต่ำกว่าตัวหน้า เป็นต้น
            ลองมาดูตัวอย่างการบันทึกโน๊ตดนตรีดูนะครับ อาจจะยากไปนิดนึงแต่ลองศึกษาดูครับ ศึกษาไว้เล็กน้อยพอเข้าใจหน่อยก็ยังดีครับเผื่อไว้ต่อไปอาจจะได้ศึกษาในขั้นที่สูง ๆ ต่อไปได้ ผมได้เลือกเพลงดฟล์คเก่า ๆ ที่หลายคนคงรู้จักคือเพลง 500 ไมล์ส่วนหนึ่งมาให้ลองดู พร้อมทั้งคำอธิบายการอ่านโน๊ต
500.gif (4352 bytes)
อธิบายการอ่าน
ลำดับตัวโน๊ตชื่อโน๊ต
จำนวนจังหวะ
1G1
2C
1
จังหวะรวม (เศษห้อง)2
3E1.5
4E0.5
5D1
6C0.5
7D0.5
จังหวะรวมห้อง 14
8E1.5
9E0.5
10D1
11C1
จังหวะรวมห้อง 24
12D1.5
13E0.5
14D1
15C1
จังหวะรวมห้อง 34
16A3
17A0.5
18C0.5
จังหวะรวมห้อง 44
19D1.5
20E0.5
21D1
22C0.5
23A0.5
จังหวะรวมห้อง 54
24G1.5
25G0.5
26A1
27C1
จังหวะรวมห้อง 64
29C4
จังหวะรวมห้อง 74
            จากตารางจะมีเพียงห้องแรก ซึ่งเรียกว่าเศษห้องจะมีไม่ครบ 4 จังหวะแต่นอกนั้นทุกห้องจะรวมได้ 4 จังหวะหมด ตาม time signature ที่เป็นตัว C นั่นแหละครับหมายถึง 4/4 ซึ่งทำให้โน๊ตตัวดำมีค่าเป็น 1 จังหวะและทั้งห้อง หรือ 1 bar จะมี 4 จังหวะ
เครื่องหมาย ชาร์ฟ และ แฟล็ท (Sharp & Flat)
            จากที่ได้รู้จักเสียงดนตรีทั้ง 7 เสียงนั้นถือเป็นระดับเสียงตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งระดับเสียงจะห่างกัน 1 เสียงเต็ม (หมายถึงระดับความสูงต่ำของเสียงนะครับ) แต่จะมี 2 คู่ที่ต่างกันครึ่งเสียง คือ ระหว่าง E, F และ B, C ไม่ใช่ครึ่งจังหวะนะครับอย่าเพิ่งงงล่ะครับ ตอนนี้เราพูดถึงเรื่องระดับของเสียงอยู่ไม่ใช่จังหวะ
            ในการแต่งเพลงหรือดนตรีสากลมักจะมีเสียงที่เป็นครึ่ง ๆ คือไม่ใช่เสียงเต็มแบบธรรมชาติซึ่งไม่มีกำหนดในสัญลักษณ์ดนตรีสากล จึงต้องมีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นหรือต่ำลงครึ่งเสียงและสัญลักษณ์ดังกล่าวก็คือเครื่องหมายชาร์ฟ (#) และแฟล็ท (b) นั่นเอง
            - เครื่องหมาย ชาร์ฟ (Sharp ; #) เมื่อปรากฎที่โน๊ตตัวใดจะทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงเช่น C# อ่านว่า ซี-ชาร์ฟ จะมีระดับเสียงสูงกว่า C อยู่ครึ่งเสียง
            - เครื่องหมาย แฟล็ท (Flat ; b) ตรงกันข้ามกับ # เมื่อปรากฎที่โน๊ตตัวใดจะทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงต่ำลงครึ่งเสียงเช่น Eb อ่านว่า อี-แฟล็ท จะมีระดับเสียงต่ำกว่า E อยู่ครึ่งเสียง
            ดังนั้นจะต้องมีโน๊ตที่มีระดับเสียงซ้ำกันอันได้แก่ C# = Db , D# = Eb , F# = Gb , G# = Ab และ A# = Bb นอกจากนี้ยังมี Cb = B , B# = C , E# = F และ Fb = E ซึ่งแบบหลังมักไม่นิยมเขียนในรูป # , b

            เมื่อมีการกำหนดเครื่องหมาย # หรือ b ลงบน staff ที่ในช่องระหว่างเส้น หรือบนเส้นใดก็ตาม(ศึกษาจากเรื่อง scale ได้) จะมีผลบังคับให้ตัวโน๊ตทุก ๆ ตัวที่อยู่บนเส้นหรือในช่องนั้น ๆ ถูกบังคับด้วย # หรือ b เช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโน๊ตที่มีเสียงเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่ช่องหรือบนเส้นใดของ staff ดังเช่น เมื่อมีการติดเครื่องหมาย # ไว้บนเส้นบนสุดของ staff ซึ่งเส้นนี้มีเสียง F อยู่ เมื่อมี # อยู่บนเส้นนี้จะมีผลให้โน๊ตทุกตัวที่อยู่บนเส้นนี้มีค่าเป็น F# ทั้งหมดโดยที่ไม่ต้องเขียน # ไว้ที่โน๊ตทุก ๆ ตัว นอกจากนี้โน๊ตที่มีเสียง F ทั้งหมดเช่นในช่องล่างสุด(ระหว่างเส้นที่ 1 กับ 2) ซึ่งมีเสียง F เช่นกัน ก็จะกลายเป็น F# ไปโดยปริยาย สำหรับเครื่องหมาย b ก็เช่นเดียวกันแต่จะทำให้ค่าของโน๊ตลดลงครึ่งเสียง
            แต่ในการแต่งเพลงบางทีอาจต้องการปรับกลับมาให้เป็นเสียงเต็ม คือต้องการถอดเครื่องหมาย # , b ออกชั่วคราวเช่นแค่ 1 หรือ 2 ห้องหรือเพียงแค่โน๊ตตัวเดียวที่ต้องการปลดเจ้า #, b ออก ดังนั้นเราจึงมีเครื่องหมายอีกตัวที่ใช้ในการปลดเจ้า #, b ออก
            - เครื่องหมายเนเจอรัล (naturals ; rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) ) เครื่องหมายนี้จะตรงกันข้ามกับ #, b คือ เมื่อปรากฎที่โน๊ตตัวใดจะทำให้โน๊ตนั้นมีระดับเสียงเป็นปกติตามสัญลักษณ์ของมัน คือใช้ในการถอดเครื่องหมาย #, b นั่นเอง เช่นจากตัวอย่างที่แล้ว staff เส้นบนสุดติด # อยู่ดังนั้นเสียง F จึงกลายเป็น F# แต่ที่โน๊ตตัวหนึ่งเราต้องการให้เป็นเสียง F เฉย ๆ เราก็จะเขียนเครื่องหมาย naturals ไว้ที่โน๊ตตัวดังกล่าว ซึ่งมีผลให้เฉพาะโน๊ตตัวนั้นที่กลายเป็น F
            หากต้องการยกเลิกเครื่องหมาย #, b ทั้งห้องนั้นก็จะเขียน naturals ไว้บนเส้นนั้นเลย เช่นที่ห้องหนึ่งผมต้องการยกเลิก F# ทั้งหมด ผมก็จะใส่เครื่องหมาย naturals ไว้บน staff เส้นบนสุดในห้องนั้น
            ลองมาดูตัวอย่างพร้อมคำอธิบายดูครับ
sharp.gif (5218 bytes)
            ตัวอย่างแรกเป็นสเกลทาง # โดยมี 1 # คือ F# ซึ่งอยู่ในสเกล G major และ time signature เป็น 4/4 (หรือเครื่องหมาย C) เรามาดูโน๊ตที่น่าสนใจกัน
            โน๊ตตัวที่ 1 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F แต่เนื่องจากใน staff นี้ติด 1 # คือ F# ดังนั้นโน๊ตตัว F ทุกตัวต้องติด # หมดจึงมีผลให้โน๊ตตัวที่ 1ติด #ไปด้วยเป็น F#
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G แต่ติด # จึงกลายเป็น G#
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# (เหตุผลเดียวกับโน๊ตตัวที่ 1) แต่ติด rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) จึงกลายเป็น F ธรรมดา
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# (เหตุผลเดียวกับโน๊ตตัวที่ 1) แม้จะมี rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิม
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G แต่ติด # จึงกลายเป็น G#
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# (เหตุผลเดียวกับโน๊ตตัวที่ 1) แม้จะมี rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิมเหมือนตัวที่ 4
          โน๊ตตัวที่ จะมีผลเป็น G# เนื่องมาจากโน๊ตตัวที่ แต่ติด rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) จึงกลายเป็น G ธรรมดา
          โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง F# เนื่องมาจากโน๊ตตัวที่ 4
flat.gif (5012 bytes)
              ตัวอย่างที่สองเป็นสเกลทาง b โดยมี 1 b คือ Bb ซึ่งอยู่ในสเกล F major ลองมาดูรายละเอียดดูนะครับ
            โน๊ตตัวที่ 1 ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง B แต่เนื่องจากใน staff นี้ติด 1 b คือ Bb ดังนั้นโน๊ตตัว B ทุกตัวต้องติด b หมดจึงมีผลให้โน๊ตตัวที่ 1ติด b ไปด้วยเป็น Bb
            โน๊ตตัวที่ เนื่องจากโน๊ตตัวที่ 1จะมีเสียง Bb แต่เนื่องจากติด rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) จึงมีผลให้กลายเป็น B ธรรมดา
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง D  แต่ติด b จึงกลายเป็น Db
            โน๊ตตัวที่ ยังคงเป็น Bb แม้ว่าโน๊ตตัวที่ จะติด natural ก็ตาม แต่เมื่อต่าง octave หรือคนละขั้นเสียง natural จะไม่มีผล
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง E แต่ติด b จึงกลายเป็น Eb
            โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง Bb (เหตุผลเดียวกับโน๊ตตัวที่ 1) แม้จะมี rd_shps_nat_sign.gif (70 bytes) ในห้องที่สอง แต่มันจะมีผลเฉพาะในห้องนั้นเมื่อขึ้นห้องใหม่แล้วก็จะเหมือนเดิม
          โน๊ตตัวที่ จะมีเสียง Bb เหตุผลเดียวกับโน๊ตตัวที่ 6
          โน๊ตตัวที่ ตามบรรทัด 5 เส้นจะมีเสียง G  แต่ติด b จึงกลายเป็น Gb
          จากทั้ง 2 ตัวอย่างผมได้แสดงทั้งระบบ notation และ tablature เพื่อให้คุณได้เห็นว่าโน๊ตแต่ละตัวนั้นอยู่บนตำแหน่งใดบนฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับระบบ tab โปรดดูรายละเอียดในหัวข้อเรื่องการอ่าน tablature
            เอาล่ะครับถึงตรงนี้คุณก็ได้รู้จักโน๊ตดนตรีกันพอสมควรแล้ว ถ้าสนใจจริง ๆ คุณสามารถหาหนังสือ ทฤษฎีดนตรีสากลมาอ่าน หรือไปเรียนในโรงเรียนดนตรีได้ก็จะดีมากเลยครับ ผมมันก็รู้แค่งู ๆ ปลา ๆ อาจจะอธิบายได้ไม่กระจ่างนัก แต่ก็เพียงพอสำหรับการเล่นกีตาร์เบื้องต้นแล้วล่ะครับ สำหรับเรื่องของสเกล และการอ่าน score หรือโน๊ตดนตรีผมจะกล่าวต่อไปภายหลังนะครับ ตอนนี้ผมแค่อยากให้คุณรู้จักโน๊ต ระดับเสียงและจังหวะดนตรีว่าคืออะไร ใช้สัญลักษณ์อะไร เรียกยังไง อ่านยังไง ทั้งหมดนี้รู้ไว้เป็นพื้นฐานนะครับผมจะเน้นการสอนจาก tablature มากกว่าซึ่งผมจะกล่าวรายละเอียดต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น