เสียงประสาน (Harmony)


เสียงประสาน


          เมื่อนักร้องเพลงเพื่อชีวิตหรือดนตรีโฟล์คร้องเพลงร่วมกับการเล่นกีตาร์คลอไปด้วยตลอดทั้งเพลง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเพิ่มความลึก (depth) และ richness เข้าไปในทำนอง เราเรียกสิ่งนี้ว่า “เสียงประสาน”
          เสียงประสาน (Harmony) คือ องค์ประกอบของเสียงซึ่งทำให้เกิดความสมบูรณ์ ปกติทำนองเพลงเป็นการดำเนินทำนองเป็นเส้นขนานหรือแนวนอน สำหรับเสียงประสานเป็นการผสมผสานของเสียงมากกว่า 1 เสียงในแนวตั้ง การประสานเสียงเป็นองค์ประกอบที่สลับซับซ้อนมากกว่าจังหวะ การประสานเสียงที่มีลักษณะของการเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงเราเรียกว่า“ขั้นคู่” (intervals) แต่ถ้ามากกว่า 2 เสียงขึ้นไปเราเรียกว่า “คอร์ด” (Chords)
           


           1. ขั้นคู่เสียง (Intervals) หมายถึงเสียง 2 เสียงที่เขียนเรียงกันในแนวตั้งและเปล่งออกมาพร้อม ๆ กัน การนับระยะห่างของเสียงเรียงตามลำดับขั้นของโน้ตในบันไดเสียง ขั้นคู่เสียงถือว่าเป็นเสียงประสานที่มีความสำคัญในการเขียนเพลง สำหรับในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงขั้นคู่เสียงเพียงเบื้องต้นเพื่อให้พอมองเห็นภาพของเสียงประสานเท่านั้น
          2. คอร์ด (Chords) หมายถึงกลุ่มเสียงตั้งแต่ 3 เสียงขึ้นไป เรียงกันในแนวตั้งและเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน คอร์ดมีมากมายหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการใช้นำไปใช้ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคอร์ด 3 ชนิด ใหญ่ ๆ รวมถึงวิธีการสร้างคอร์ด (Chord Construction) ดังนี้

1) ตรัยแอ็ด (Triad) คือ คอร์ดที่ประกอบด้วยเสียง 3 เสียง โดยเกิดจากการนำโน้ตลำดับที่ 1st ,โน้ตลำดับที่ 3rd และโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียงมาจัดเรียงกันในแนวตั้ง

2) คอร์ดที่มี 4 เสียง (Seventh chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 7th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง เช่น
3) คอร์ดที่มี 5 เสียง (Ninth chords) หมายถึง คอร์ดตรัยแอ็ดที่เพิ่มโน้ตลำดับที่ 9th ต่อจากโน้ตลำดับที่ 7th และ โน้ตลำดับที่ 5th ของบันไดเสียง เช่น
หมายเหตุ 
          จากข้างต้นผู้เขียนได้นำคอร์ดที่ใช้ในการยกตัวอย่างเป็นคอร์ดที่เกิดจาก บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (C major) ทั้งสิ้น เนื่องจากง่ายต่อการจดจำ ส่วนคอร์ดที่เกิดจากบันไดเสียงเมเจอร์อื่น ๆ ก็มีโครงสร้างเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น