วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

4. ประเภทของวงดนตรีสากล


    วงดนตรีสากลแบ่งได้เป็น ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.              วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra)  วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก  40-60 คน  ขนาดกลาง  60-80 คนและวงใหญ่  80-110 คน หรือมากกว่านั้น  ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก  และผู้เล่นต้องมีฝีมือดี  รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม
ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony  Orchestra  ก็เรียกว่า  String  Orchestra
2.              วงโยธวาทิต  (Military  Band)  ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม  คือ  เครื่องลมไม้   เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ  ได้แก่เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย  วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร ในสมัยสงครามครูเสด  ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่14 ต่อมาในสมัยของนโปเลียน  ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด เช่น  พวกขลุ่ยผิว  พวกปี่และแตร  และต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต  ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์  นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ ในตระกูลแซกฮอร์น  จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย  จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว  ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  56  ชิ้น
3.              แตรวง  (Brass  Band)  คือ  วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ  แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง  การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้น  แตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  26  ชิ้น
4.              วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber  Music) หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง  หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย  ในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถงตามราชสำนักหรือคฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป  และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง  ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นสถานที่คับแคบ  จึงเลื่อนไปเล่นในห้องโถงใหญ่และใน Concert  Hall  ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ  แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆ กัน  โดยปกติจะมีนักดนตรี 2-9 คน  และเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลงดังนี้
จำนวนผู้บรรเลง      2    คน       เรียกว่า    ดู (Duo)
จำนวนผู้บรรเลง      3    คน       เรียกว่า    ตริโอ  (Trio)
จำนวนผู้บรรเลง      4    คน       เรียกว่า    ควอเตท (Quartet)
จำนวนผู้บรรเลง      5    คน       เรียกว่า    ควินเตท (Quintet)
จำนวนผู้บรรเลง      6    คน       เรียกว่า    เซกซ์เตท (Sextet)
จำนวนผู้บรรเลง      7    คน       เรียกว่า    เซปเตท (Septet)
จำนวนผู้บรรเลง      8    คน       เรียกว่า    ออกเตท (Octet)
จำนวนผู้บรรเลง      9    คน       เรียกว่า    โนเนท (Nonet)
                                การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น  วูดวินควินเตท  ( Wood  -Wind  Quintet)  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ คน  ได้แก่  ฟลุต  ปี่โอโบ  คลาริเนต  บาสซูนและเฟรนซ์ฮอร์น
                สตริงควอเตท (String Quartet)  มีไวโอลินคัน วิโอลา คันและเชลโล คัน
                แชมเบอร์มิวสิค  ไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินเหมาะที่สุด  เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน  และยังเล่นสไตล์ได้อย่างกว้างขวาง  โดยเฉพาะ  String Quartet  ได้รับความนิยมสูงสุดในแชมเบอร์มิวสิค  โดยเริ่มเจริญแพร่หลายขึ้นในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ
                ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble) เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของ
โมสาร์ท เป็น 
Serenade  สำหรับเครื่องลม Bแฟลต
5. วงแจ๊ซซ์  (Jazz)  ดนตรีแจ๊ซซ์  เกิดจากพวกทาสนิโกร ที่นิวออร์ลีนหลังจากนโปเลียนขายนิวออร์ลีนให้อเมริกา  พวกอเมริกันขาว  โอไฮโอ  แถบฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปี้  พวกอเมริกัน จากอเมริกาตะวันตก ก็อพยพเข้าเมืองนิวออร์ลีนจึงทำให้เมืองนี้ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติรวมถึง  ฝรั่งเศส  สเปนและอังกฤษด้วย  พวกนิโกรดังกล่าว  พอว่างจากงานก็ชุมนุมกันร้องรำทำเพลง  เครื่องดนตรีที่ใช้ทำขึ้นตามมีตามเกิด  เอาไม้ไผ่มาเหลาเจาะเป็นเครื่องเป่า  เอาหนังวัวมาขึงทำเป็นกลองตี  พวกที่คิดแจซซ์ขึ้น สันนิษฐานว่าเป็นพวกกองโก(Gongoes)  พวกนี้บูชางูใหญ่ เป็นพวกที่มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุด  โดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวกนิโกร(Nigro  spiritual)  ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสจะได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ             ในพ.. 2406  ประธานาธิบดีอับบราฮัมลินคอล์น  ประกาศเลิกทาส  พวกนิโกรได้รับอิสระภาพ  เนื่องจากนิวออร์ลีนประกอบด้วยชนหลาย
ชาติดังกล่าวมาแล้ว  ทำให้ดนตรีบรรเลงกันระยะนั้น  ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนจากยุโรป  ต่อมาในตอนหลัง เพลงได้แบ่งออกเป็น 
ประเภท คือ เพลงศาสนาและเพลงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา  ประเภทหลังได้รับอิทธิพลจากทำนองจากยุโรป  เช่น  ฝรั่งเศส  สเปน  เป็นต้น                หลังจากสงครามกลางเมือง  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการประกาศเลิกทาสสิ้นสุดลง ใน พ.. 2408  พวกนิโกร มีอิสระอย่างเต็มที่  เริ่มเล่นเครื่องเป่ามากขึ้นแรกๆ ใช้แตรจากแตรวงของทหารที่บู้บี้ทิ้งแล้ว  มาหัดเป่ากัน  ผิดบ้างถูกบ้าง  วงดนตรีแจซซ์ที่ตั้งเป็นวงจริงๆ วงแรกคือ  วงของบัดดี  โบลเดน นักเป่าแตรคอร์เนต ซึ่งในระหว่าง พ.. 2438-2439เขามีชื่อเสียง จนได้รับฉายาว่าเป็นราชาในหมู่นักดนตรีแห่งนิวออร์ลีน  วงดนตรีของเขาบรรเลงตามสถานที่เต้นรำ และสวนสาธารณะต่างๆ
              
 ในต้นศตวรรษที่  20  วงดนตรีนิโกรต่างๆ ก็เริ่มแพร่หลายในนิวออร์ลีน  เวลาพวกนี้เดินบรรเลงไปตามท้องถนนต่างๆ หนุ่มสาว  เด็กๆ ก็จะเดินตาม ต่อมาไม่นานนักดนตรีผิวขาวหนุ่มๆ ก็ตั้งวงดนตรีแบบนี้ขึ้นบ้างโดยเอาอย่างนักดนตรีนิโกร  พวกแจซซ์จึงเป็นที่สนุกสนานสร้างความครึกครื้น เร้าอารมณ์ใน  20 ปีแรกของศตวรรษที่  20  รุ่งโรจน์ในเมืองสตอรี่วิลส์  ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในเืองนิวออร์ลีน  ตามท้องถนน  เต็มไปด้วยบาร์  สถานเต้นรำในเมืองนี้เองได้สร้างนักดนตรี  แจซซ์รุ่นแรกขึ้นมา เช่น  บัดดี  โบลเดน  โจโอลิเวอร์  คิด  ออร์ลีย์  และวงของออร์ลีย์นี้เอง  ที่หลุยส์  อาร์มสตรองมีโอกาสแสดงแววความเป็นนักดนตรีเอกของโลกขึ้นมา                เมื่อ  พ.. 2460  ระหว่างสงครามโลกครั้งที่1  รัฐบาลอเมริกันสั่งปิดเมืองสตอรี่วิลส์  ทำให้บรรดานักดนตรีแจซซ์ ต้องแยกย้ายกันไปหางานทำที่อื่น  บางพวกก็ล่องเรือไปทางตอนบนของแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ จนถึงเมืองเมมพิส เซนต์หลุยส์และชิคาโก  บรรดาเรือโดยสารที่ขึ้นล่องตามแม่น้ำสายนี้บางลำก็มีวงดนตรีประจำ  นักดนตรีพวกนี้ยิ่งนาน  ก็ยิ่งเพิ่มความชำนาญให้กับตัวเองมากขึ้น  หลุยส์  อาร์มสตรอง ก็ขึ้นล่องไปกับเรือลำหนึ่ง  และเพิ่งมาเรียนอ่านโน้ตกับนักดนตรีคนหนึ่งในเรือชื่อ ซิดนีย์  เมื่ออาร์มสตรองมาถึงชิคาโก  ก็สร้างความเกรียวกราวกันใหญ่  สองสิงห์คอร์เนต คือ เขากับโอลิเวอร์ เป่าเข้าขากันอย่างมหัศจรรย์  มีลูกล้อ ลูกขัด  ดุดัน  แหบโหย  เร้าใจ  โดยต่างคนต่างไม่มีการดูโน้ต  เล่นไปตามความรู้สึกของตน  ทำให้ชื่อเสียงของทั้งสองคนดังเหมือนพลุแตก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ผ่านไป  เปียโน เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ  นักเปียโนตอนนั้น ได้แก่  สิงห์วิลลี่  สมิธ (Willie  “The  Lion” Smith)  ดุคเอลลิงตัน                แจซซ์ในสมัยแรกๆ นักดนตรีต่าวคนต่างเล่น ใน พ.. 2463  เริ่มมีการ โซโลในชิคาโก  ตอนนั้นแจซซ์มี ชิ้น  ต่อมาเพลพเชอร์  เฮนเดอร์สันและดุค เอลลิงตัน  ได้ลองใช้ผู้เล่น  14-15 คน  เป็นแจซซ์แบบใหม่ขึ้นมา  แบบนี้มีการเรียบเรียงเสียงประสานด้วย                ใน พ.. 2477  เบนนี่  กู้ดแมน  นักเป่าคลาริเนตจากชิคาโก  ซึ่งมาเป็นนักดนตรีอิสระในนิวยอร์ค จนกระทั่งได้เป็นหัวหน้าวง  ได้นำเพลงออกบรรเลงในรายการวิทยุมีหลายเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  หลังจากนั้นวงดนตรีของเขาก็ได้ออกตระเวนเล่นตามเมืองต่างๆ ในอเมริกาและเคยมาเล่นในเมืองไทย

แบบของแจซซ์ที่ควรรู้จัก

                Blues  Jazz  เพลงบลูส์  เป็นเพลงเก่าแก่ของแจซซ์มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร  เพลงบลูส์มีอายุร่วม  100  ปี  เกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนแถบปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี  แต่สมัยแรกๆ ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร  ต่อมา พ..  2467 ได้มีการอัดแผ่นเสียงจำหน่ายจึงแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น  รวมทั้งดนตรีได้มีโอกาสไปแสดงตามที่ต่างๆ ในสมัยแรกๆ เพลงบลูส์ใช้กีตาร์เล่นนำ และคลอเสียงร้อง  เล่นกันตามข้างถนน  ตามย่านชุมชน  คนผ่านไปมาก็ให้เงินบ้างไม่ให้บ้าง  เนื้อร้อง  ร้องไปคิดไป ไม่มีการเตรียมไว้ล่วงหน้ามาก่อน  ดังนั้นร้องกี่ครั้งก็ไม่เหมือนกัน  นึกจะจบก็จบเอาดื้อๆ คล้ายกับเพลงฉ่อยของประเทศไทย  เพลงบลูส์ได้รับอิทธิพลจากศาสนามาก  ดังนั้นเนื้อร้องก็มีเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย  ต่อมาเพลงบลูส์ได้เจริญขึ้นก็นำไปเล่นกับวงแจซซ์ก็กลายเป็นบลูส์ แจซซ์  เพลงประเภทนี้ส่วนมากจังหวะช้าๆ   ครั้งแรกที่ไม่ค่อยนิยมเพลงบลูส์เนื่องจากโน้ตค่อนข้างยาก ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.. 2472  จึงเป็นแรงหนึ่งที่ทำให้รับความนิยม                New  orlean  and  dixieland  style   ทั้ง 2แบบเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก  เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่  19  และมาแพร่หลายในปี พ..  2473  เพลงสไตล์นี้จะหนักในจังหวะ และ เครื่องดนตรีสมัยแรกมี ทรัมเปต หรือ ตัว ต่อมามีทรอมโบนและคลาริเนท  เบนโจ  กีตาร์  ทูบา  กลอง  เปียโน  แซกโซโฟน  ปัจจุบันใช้เบสแทนทูบา  นิยมให้ทรัมเป็ตเป็นตัวนำก่อน  แล้วจึงเล่นพร้อมกันทั้งวง และเล่นกันเฉพาะทำนอง เพราะยังไม่มีใครรู้จักAdlib  กันเท่าไหร่  กลองก็เล่นจังหวะธรรมดา                Modern  Style  โฉมหน้าของแจซซ์ได้เปลี่ยนไปมากเมื่อหลุยส์  อาร์มสตรองได้คิดวิธีเล่นใหม่ คือ มีทำนองหลักแล้วผลัดกันเล่นทีละคน  แต่ละคน Adlib  กันอย่างสนุกสนานและเล่นค่อนข้างเร็วมาก  บางทีก็เล่นพร้อมๆ กัน ฟังดูเหมือนต่างคนต่างเล่น  แต่อยู่ในกรอบอันเดียวกัน                Bop Style  ผู้ที่คิดขึ้น  คือ The  lonious  Monk  กับ  Dizzy  gillespie  โดยเอาแบบของยุโรปมาผสม  มีการเปลี่ยนแปลงทำนองและจังหวะ  ใช้คอร์ดเป็นหลัก  เล่นเร็วมาก ผลัดกันเล่นทีละชิ้น
                จังหวะชองแจซซ์ในยุคหลังก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ
                Swing  แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเนทกับพวกผิวดำ  ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing
                Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจากแจซซ์  เมื่อราว พ.. 2493  ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.. 2520)
                เพลงแจซซ์ที่เราคุ้นๆ หูก็คือเพลง  When  the  saints  to  marching  in  เพลงนี้เป็นเพลงที่เก่าแก่มาก  ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งเป็นเพลงแจซซ์ที่มีชื่อเสียงมาก  ในการแสดงดนตรีแจซซ์ทุกครั้งมักมีเพลงนี้เล่นด้วยเสมอ  ตอนแรกเป็นเพลงสวด ต่อมาเล่นแบบมาร์ชและในที่สุดก็เล่นแบบ New  orleans อาร์มสตรองเล่นเพลงนี้ได้ดีที่สุดเมื่อ  พ..  2481
                เครื่องดนตรีแจซซ์ที่นิมเล่นกันมีดังนี้คือ1.              
คลาริเนท
2.              แซกโซโฟน(โซปราโน,อัลโต,เทเนอร์)
3.              คอร์เน็ต
4.              ทรัมเป็ต
5.              ทรอมโบน
6.              เบนโจ
7.              เปียโน
8.              กีตาร์
9.              เบส
10.       กลองชุด
ปัจจุบันแจซซ์ได้เล่นอย่างมีแบบแผน  มีการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี เครื่อง
ดนตรีที่ใช้เล่นมีการกำหนดแน่นอน  ซึ่งใช้แบบของวงดนตรีปอปปูลามิวสิค
6.  วงปอปปูลามิวสิค  (Popular  Music)   หรือวงดนตรีลีลาศ  ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีกลุ่ม แซกโซโฟนกลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ
                วงปอปปูลามิวสิค  ส่วนใหญ่มี  ขนาด
                .  วงขนาดเล็ก(วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12ชิ้น ดังนี้
                                กลุ่มแซก   ประกอบด้วย     อัลโตแซก                             1   คัน
                                                                                               เทเนอร์แซก                 2   คัน
                                                                                               บาริโทน แซก                   1  คัน
                                กลุ่มทองเหลือง   ได้แก่     ทรัมเป็ต                 3  คัน
                                                                                               ทรอมโบน                             1  คัน
                                กลุ่มจังหวะ          ได้แก่                      เปียโน                                    1  หลัง
                                                                                               กีตาร์คอร์ด                            1  ตัว
                                                                                               เบส                                         1  ตัว
                                                                                               กลองชุด                                1  ชุด
                วง  4 x 4 หมายถึง ชุดแซก ชุด ทองเหลือง4   ตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ ละไว้ในฐานที่เข้าใจ
ก.             วงขนาดกลาง  (5  x 5)  มีเครื่องดนตรี  14  ชิ้น  คือ  เพิ่ม  อัลโตแซกและทรอมโบน
ข.             วงขนาดใหญ่  (5 x 7)  มี 16  ชิ้น  เพิ่ม  ทรัมเป็ตและทรอมโบนอย่างละตัว 
ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบสและบางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโน
7.              วงคอมโบ (Combo  band) หรือสตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music  อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน  จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมีพวกริทึม(Rhythm)  และพวกเครื่องเป่าทั้งลมไม้และเครื่องทองเหลือง  เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ  กลองชุด  เบส  เปียโน หรือมีเครื่องเป่าผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับปอปปูลามิวสิค
วงคอมโบก็เป็น สมอลล์ แบนด์  (small  Band)  แบบหนึ่ง  ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักเหมาะสำหรับเล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆ ไป นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิค  อีกด้วย
                เพลงไทยสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนี้
1.              แซกโซโฟน
2.              ทรัมเป็ต
3.              ทรอมโบน
4.              เปียโนหรือออร์แกน
5.              กีตาร์คอร์ด
6.              กีตาร์เบส
8.  วงชาร์โด (Shadow)  เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก  เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ  20 ปีมานี่เอง  ในอเมริกา  วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ  คณะ The Beattle  หรือสี่เต่าทอง
                เครื่องดนตรีในสมัยแรก  มี ชิ้น  คือ
1.              กีตาร์เมโลดี้(หรือกีตาร์โซโล)       2.  กีตาร์คอร์ด     3.   กีตาร์เบส    4.   กลองชุด
วงชาโดว์ ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน  ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม  และบางทีอาจมี ไวโอลินผสมด้วย  เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน  ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น  โดยเฉพาะเพลงประเภท  อันเดอร์กราว
ประภาส  โพธิสาขา

3. นักดนตรเอกของโลก (แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ)



แอ็กตอร์ แบร์ลีโยซ (ฝรั่งเศสHector Berlioz) เป็นคีตกวี นักเขียน และนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1803) ที่เมืองลาโกตแซ็งต็องเดร จังหวัดอีแซร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) ที่กรุงปารีส
เขาเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญในยุคโรแมนติกของทวีปยุโรป

ประวัติ


ช่วงแรกของชีวิต

เขารู้สึกสนอกสนใจวิถีชีวิตของชาวปารีสมากตั้งแต่เริ่มแรก ในช่วงสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ซึ่งมีการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่และมีนักปรัชญาเกิดขึ้นจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2366 (ค.ศ. 1823) เขาได้ศึกษาการประพันธ์เพลงที่วิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ร่วมกับฌ็อง-ฟร็องซัว เลอ ซุเออร์ คีตกวีประจำสถาบันซึ่งมีรูปแบบอลังการ และได้รอดจากอุปสรรคในยุคต่าง ๆ มาได้ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองต่าง ๆ ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส จนกระทั่งการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์
เขาได้ค้นพบคาร์ล มารีอา ฟอน เว็บเบอร์ (ซึ่งต่อมาได้ใช้เทคนิคของเว็บเบอร์ในการประพันธ์ แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก) และได้ประพันธ์ Messe solennelle ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824)
ถึงแม้เขาจะหัดเล่นดนตรีเอาเองแบบตามมีตามเกิดมาก่อน แบร์ลีโยซก็ได้เริ่มหัดเล่นกีตาร์และปี่แตร และแม้ว่าเขาจะไม่ประสบผลสำเร็จในการประกวดดนตรีที่กรุงโรม ในปี พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826) เขาก็ได้เข้ารับศึกษาทางดนตรีที่วิทยาลัยดนตรี (ผู้อำนวยการในสมัยนั้นได้แก่ลุยกิ เชรูบินิ) และได้เรียนกับปรมาจารย์อ็องตน ไรชา ที่สอนเขาเกี่ยวกันฟูเกและconterpoint รวมทั้งเรียนการเรียบเรียงเสียงประสานกับเลอซุเออร์ด้วย
ในปี พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) เขาก็ได้เข้ารอบการประกวดดนตรีที่กรุงโรม แต่บทเพลงแคนเต็ต ของเขาที่มีชื่อว่า ลามอร์ดอร์เฟ ได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการว่าไม่สามารถจะเอามาบรรเลงจริง ๆ ได้ ในระหว่างการแสดงละครเวทีเรื่องแฮมเล็ต เขาก็ได้ค้นพบวิลเลียม เชกสเปียร์ และตกหลุมรักแฮเรียต นักแสดงสาวชาวไอริชที่แสดงในแฮมเล็ต ซึ่งต่อมาเขาก็ได้เข้าพิธีสมรสกับเธอในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833)
เขายังได้ค้นพบบทประพันธ์ของเกอเทอ เรื่องเฟาสท์ ซึ่งต่อมาเขาได้ประพันธ์เพลงจากการแปลของเจราร์ด เดอ แนร์วาล ชื่อว่าแปดฉากจากเรื่องเฟาสท์ (พ.ศ. 2371) และโอเปร่าโศกนาฏกรรมเรื่อง คำสาปของเฟาสท์ในปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1843)
เขารู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เมื่อวิทยาลัยดนตรีและนาฏศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ ณ กรุงปารีส ภายใต้การอำนวยการของฟร็องซัว-อ็องตวน อาเบอแน็กได้จัดแสดงซิมโฟนีทุกบทของเบโทเฟิน ในปี พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828)


แซ็งฟอนีฟ็องตัสติก


การเดินทาง การเป็นนักเขียนนักวิจารณ์ และโอเปร่า


เลทรัวย็อง


ผลงาน


บทวิเคราะห์


ผลงานที่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวฝรั่งเศส


งานเขียน

  • Grand traité d'instrumentation et d'orchestration moderne (1860) ;
  • Mémoires, éditions Fayard ;
  • Correspondance générale, éditions Fayard ;
  • Les soirées de l'orchestre, (1852) ;
  • Le voyage musical en Allemagne et en Italie ;
  • À travers champs ;
  • Les Grotesques de la musique ;
  • Cauchemars et passion ;
  • Son œuvre critique est actuellement regroupée et rééditée : Critique musicale, sous la dir. de H. Robert Cohen et d'Yves Gérard, Paris : Buchet-Chastel, 1997- , en cours (4 vol. parus).

งานเพลง

รายชื่อผลงานทั้งหมดได้ถูกตีพิมพ์โดย D. Kern Holoman ในแค็ตตาล็อกของเขา : Dallas Kern Holoman, Catalogue of the Works of Hector Berlioz, Cassel : Bärenreiter, 1987.


สำหรับวงออเคสตร้า


โอเปร่า


บทเพลงขับร้องประสานเสียง

  • La Messe solennelle (1824, retrouvée en 1992 alors que Berlioz prétendait qu'il l'avait détruite) ;
  • Lélio ou le retour à la vie, op. 14b (1827) ;
  • Grand requiem ou Grande messe des morts (1837) ;
  • La damnation de Faust, légende dramatique (1846) ;
  • Te Deum (1849 - 1855) ;
  • L'enfance du Christ, trilogie sacrée (1850 - 1854) ;
  • La Mort d'Orphée ;
  • Le 5 mai ;
  • Le ballet des ombres ;
  • Tristia ;
  • Herminiecantate ;
  • La mort de Cléopâtre ;
  • Les nuits d'été.

ผลงานที่ได้รับการบันทึกเสียง


เซอร์ คอลิน เดวิส

ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการบันทึกเสียง